วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ขุมทรัพย์ "ทักษิณ"
หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) “ขบวนการตุลาการภิวัฒน์” ได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากขึ้น พร้อมกับคำว่า "นิติรัฐ" และ "นิติธรรม" ถูกนำมากล่าวอ้างอย่างแพร่หลาย
นิติธรรม หมายถึง กฏหมายที่เป็นธรรม
นิติรัฐ หมายถึง รัฐหรือประเทศที่ปกครองโดยใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือ
สรุปแล้ว นิติธรรม-นิติรัฐ ก็คือ การปกครองด้วยกฏหมายที่มีความเป็นธรรม บุคคลมีความเสมอภาคทางด้านกฏหมาย
หากประเทศใดปกครองด้วยระบบนิติธรรม-นิติรัฐ ประเทศนั้นย่อมมีความผาสุข ประชาชนมีความเสมอภาค ภราดรภาพ และเสรีภาพ นี่คือหลักการปกครองโดยระบอบประชาธิไตยที่ทั่วโลกยอมรับ
หลังจากมีการยึดอำนาจ 19 กันยา คำว่า นิติธรรม-นิติรัฐ สองมาตรฐาน ตุลาการภิวิฒน์ ถูกพูดถึงอย่างหนาหูผ่านสื่อหลายกระแสทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เริ่มตั้งแต่คดียุบพรรคไทยรักไทย และมีการตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองย้อนหลัง 5 ปี จากนั้นก็คดีตะหลิวกับกระทะที่ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช ต้องกระเด็นตกจากเจ้ากี้นายกรัฐมนตรี ยังมีคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้น และยังมีอีกคดีใหญ่ที่จะตัดสินต้นปี 2553 ซึ่งกำลังเป็นข่าวเกรียวกราวอีกหนึ่งคดี นั่นคือ คดียึดทรัพย์ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกคนที่ 23 ของไทยซึ่งมีข่าวการถูกลอบสังหารหลายครั้ง ตั้งแต่รับตำแหน่งนายกฯ ใหม่ๆ เมื่อปี 2544โดยเกิดเหตุระเบิดของเครื่องบินการบินไทย จนถึง “คาร์บอมบ์” ที่กลายเป็น “คาร์บ๊องส์” ที่หากทำสำเร็จพี่น้องประชาชนแถบจรัลสนิทวงศ์คงต้องราบเรียบเป็นน่ากลอง มาจนถึงเมื่อเร็วๆ นี้มีข่าววิศวกรไทยจารกรรมข้อมูลตารางการบิน “ทักษิณ” ซึ่งคดีจบลงด้วยความโล่งอกโล่งใจของคนไทยตามที่เป็นข่าวเกรียวกราวมาแล้วพักใหญ่
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นายจตุพร พรหมพันธ์ ออกมากล่าวว่ามีนายทหารชั้นผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งพยายามเร่งรัดคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านของ “ทักษิณ” ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
และเมื่อวันที่ 15 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาปฏิเสธข่าวรัฐบาลรู้ผลคดีล่วงหน้าและล็อบบี้ให้ตัดสินคดียึดทรัพย์ “ทักษิณ”
ยังมีนายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ตอกลิ่มด้วยการนำเอกสารตราครุฑ ประทับคำสั่ง ลับมากและด่วนที่สุด ที่กต 1303/2555 กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กทม.10400 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ลงลายมือชื่อนายกษิต ภิมรมย์ ส่งถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีใจความตอนท้ายในข้อ 2.4 ว่า “โดยการเร่งพิจารณาคดีต่างๆ ของทักษิณที่ยังค้างอยู่” จากข้อความนี้คงไปสะดุดใจใครหลายคน และคิดไปได้ว่า ฝ่ายบริหารเข้าไปก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม และยัง “ทักษิณและคนเสื้อแดง” ออกมากล่าวว่า พวกกูทำอะไรก็ผิด แต่พวกมึงทำอะไรก็ถูก
จากข้อครหาเหล่านี้ทำให้สายตาคนไทยและต่างชาติจับตามองการตัดสินคดีนี้ชนิดไม่กระพริบตา การทำงานของกระบวนการยุติธรรมจึงต้องรอบคอบ ชัดเจนและรัดกุมในการพิจารณาคดี
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ศาลนัดไต่สวน นายกล้านรงค์ จันทิก กับ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และล่าสุดจะมีการนัดสอบพยานคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านเพิ่มอีก ในวันที่ 12 และ 14 มกราคม 2553
ก่อนหน้านี้มาจนถึงปัจจุบัน มีเสียงเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ “ทักษิณ” ดังกระหึ่มแทบทุกเวทีที่คนเสื้อแดงไปปรากฏตัว ตามด้วยเสียง “โฟนอิน” ของอดีตนายกฯทักษิณ ประกอบกับข้อมูลที่นายจตุพรนำออกมา ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า “มีการตั้งธงคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน ไว้แล้วล่วงหน้า”
ตามมาด้วยคำถามว่า หาก “ทักษิณ” ถูกยึกทรัพย์ ใครจะมีส่วนได้เงินสินบนหรือเงินรางวัลนำจับ และได้เท่าไหร่ จากยอดเงิน 7.6หมื่นล้านบาท
เรื่องการตัดสินคดีความ จะยึดหรือไม่ยึดก็ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่โปรดอย่าลืมว่า ก่อนหน้าที่ “ทักษิณ” จะลงเล่นการเมือง ได้มีนิตยสารฟอร์บส ประจำปี 2543 จัดลำดับ “ทักษิณ” ติดอันดับเศรษฐีโลก ด้วยทรัพย์สินที่ตีมูลค่าจากหุ้นรวม 54,000 ล้านบาท
หากจะคำนวณดูเล่นๆ นับตั้งแต่ปี 2543 ที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ลงเล่นการเมืองกระทั่งถึงวันที่ครอบครัวอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ทำการซื้อขายหุ้น “ราคาของมันจะสูงขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใด”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น