วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิเคราะห์บึ้มเวทีพันธมิตรฯ




จากกรณีมีเหตุระเบิดที่เวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 21.30 น. ขณะนั้นเป็นช่วงที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ขึ้นเวทีปราศรัย จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า "เป็นระเบิดชนิดเอ็ม 79" ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุม หลายฝ่ายรับรู้ข่าวนี้ด้วยความเศร้าใจและออกมาประณามผู้ที่กระทำการดังกล่าว

มีหลายฝ่ายสรุปว่า "เป็นการสร้างสถานการณ์" และจากข้อสรุปนี้มีคำถามตามมามากมายว่า ใครเป็นผู้สร้าง? สร้างขึ้นเพื่อหวังผลอันใด? และทำไปเพื่ออะไร? ทำไปเพราะความคึกคะนอง หรือเพราะเห็นชีวิตผู้บริสุทธิ์ที่ต้องเสียเลือดเนื้อเป็นเหยื่อกระนั้นหรือ?

พันธมิตรฯ มีการชุมนุมหลายครั้ง และมักมีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด แต่ไม่เคยมีแกนนำสำคัญๆ คนใดได้รับบาดเจ็บแม้แต่ครั้งเดียว จากเหตุการณ์ในคืนวันที่ 15 แกนนำและบุคคลสำคัญก็ปลอดภัยราวกับมีอภินิหาร และมือก่อเหตุก็หายไปอย่างไร้ร่องรอยไม่สามารถจับมือใครดมได้เช่นเคย ราวกับเป็นสูตรสำเร็จในการชุมนุมของ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ยังไงยังงั้น

มีหลายฝ่ายสังสัยว่า "ทำไมต้องเกิดเหตุช่วงที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลขึ้นเวทีปราศรัย" หากเป็นการเจาะจงหรือต้องการข่มขู่แกนนำคนสำคัญ ผู้กระทำการก็น่าจะรู้เวลาพอสมควรว่าใครขึ้นเวทีช่วงไหน และหากไม่ใช่ผู้สนิทสนมหรือคนกันเอง จะสามารถล่วงรู้ตารางเวลานี้หรือไม่?

มีประชาชนจำนวนไม่น้อยนำการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและคนเสื้องเหลืองมาเปรียบเทียบ รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงทุกครั้งเมื่อคนเสื้อแดงนัดชุมนุม "ด้วยข้ออ้างป้องกันไม่ให้เกิดรุนแรงและเกรงจะมีการสร้างสถานการณ์" และเพราะเหตุใดเมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนัดชุมนุมใหญ่ ซึ่งบรรดาแกนนำต่างออกมาคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงไม่ประกาศ พรบ.ความมั่นคง

หากมองในแง่ดี สมารถมองได้ว่า "รัฐบาลมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุรุนแรงและไม่มีการสร้างสถานการณ์ รวมทั้งมั่นใจว่าพันธมิตรฯ จะไม่เข้าไปบุกยึดสถานที่ราชการ สนามบินนานาชาติเหมือนอย่างที่เคยทำเมื่อครั้งอดีต แต่หากจะมองในอีกแง่หนึ่งอาจมีคนมองว่า "ตั้งใจเปิดช่องให้มีการสร้างสถานการณ์และก่อเหตุรุนแรงจากกลุ่มผู้ไม่หวังดีเพื่อนำไปขยายผลทางการเมือง"

และเมื่อนำมาบวกกับคำให้สัมภาษณ์ของบรรดาแกนนำ ต่างออกมาให้สัมภาษณ์เชื่อมโยงไปถึงคนใกล้ชิดอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และคนของพรรคเพื่อไทย ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถสรุปประเด็นและหาหลักฐานมาประกอบ หลายฝ่ายจึงออกมาเตือนพันธมิตรฯ ด้วยความหวังดีว่า การออกมาให้สัมภาษณ์ทั้งที่ไม่มีข้อมูลหลักฐานชัดเจน อาจเกิดกระแสตีกลับกลายเป็นว่า "เจตนาใส่ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้ามเพื่อหวังผลทางการเมือง ต้องการให้อีกฝ่ายเสียชื่อเสียงและสร้างกระแสแห่งความเกลียดชังก็เป็นไปได้"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น