วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
รัฐบาลประกาศยกเลิกบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา
ฉีกสัญญาแบ่งขุมทรัพย์ทักษิน-ฮุนเซน
การประกาศขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (Memo randum of Understanding หรือ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นปฏิบัติการตอบโต้ทางการทูตขั้นตอนที่ 3 จากทั้งหมด 5 ขั้นตอนของกระทรวงการต่างประเทศ
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์/ryt9.com
บทวิเคราะห์
จากการประกาศยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (Memo randum of Understanding หรือ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น
รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ทำไปเพราะเห็นว่าประเทศไทยเสียเปรียบกัมพูชา หรือเพื่อความสะใจและต้องการประกาศให้นานาชาติรู้ว่า "หากไทยเอาจริง กัมพูชาจะต้องยอมแพ้" หากคิดเช่นนั้น "ก็ถือเป็นการบังคับข่มขู่สมเด็จฮุนเซน แห่งกัมพูชา" ทั้งทางตรงและทางอ้อม
รัฐบาลไทยอาจลืมคิดไปว่า "กัมพูชาไม่ใช่เมืองขึ้นของไทย" แต่เป็นประเทศเล็กๆ ที่มีศักดิ์ศรีและปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
การที่สมเด็จฮุนเซน ไม่ถือสาหาความ "นายกษิต ภิรมย์" ครั้งขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ต่อว่าท่านอย่างคึกคะนองก็ถือเป็นการให้เกียรติไทยอย่างยิ่ง และที่สำคัญท่านไม่คิดที่จะก้าวก่ายการบริหารจัดการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไทยกลับไม่คำนึ่งถึงเหตุผลข้อนี้ แต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและยังดำรงตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน
หากกัมพูชาจะถือประเด็นนี้ดำเนินการอะไรสักอย่าง เหมือนดั่งที่ไทยกำลังทำกับกัมพูชาอยู่ขณะนี้ คงมีหลายคนและอีกหลายประเทศในอาเซียนเห็นด้วย เหตุเพระ "คงไม่มีประชาชนประเทศใด ยอมให้รัฐมนตรีต่างชาติดูถูกผู้นำของตนได้ขนาดนั้น" โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน
อยากสะกิดให้คิดอีกครั้งด้วยความหวังดีในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ว่าการที่รัฐบาลไทยยกเลิกบันทึกข้อตกลงดังกล่าว สมเหตุสมผลหรือไม่? จากการกระทำนั้น ไทยเสียประโยชน์อะไรบ้าง? หรือทำไปเพียงเพราะประการเดียว คือขอให้สมเด็จฮุนเซน แห่งกัมพูชา ยอมศิโรราบ และรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์เป็นฝ่ายชนะ
หรือเพราะเกรงว่ากัมพูชาจะเจริญก้าวหน้ากว่าไทย เหตุเพราะอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เจ้าของนโยบาบ "ทักณิโฌมิก" ของแท้ไม่ใช่ลอกเลียนแบบแล้วเปลี่ยนชื่อโครงการไปเป็นที่ปรึกษาให้กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้มีคนจำนวนไม่น้อยออกมาวิพากษ์วิจารณ์ "หากเทียบฝีมือระหว่างทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์และไทยรักไทยภายใต้การนำของ ทักษิณ" หากคนผู้นั้นตอบอย่างไม่เสแสร้ง ประชาชนคนไทยพูดได้เลยว่า "อภิสิทธิ์เป็นลองทักษิณอยู่หลายขุม"
และอีกประการหนึ่งหลายคนคิดว่า การที่นายอภิสิทธิ์ยอมให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาแย่ลงกว่าเดิม เป็นอย่างที่ทักษิณเคยพูดไว้ นั่นคือ "ต้องการฆ่าหนูตัวเดียวจุดไฟเผาทั้งป่าหรือเผาทั้งบ้าน"
หากรัฐบาลใจกว้างสักนิดลองคิดในมุมกลับว่า "หากสมเด็จฮุนเซน แห่งกัมพูชาไม่ยอมตัดสัมพันธ์กับทักษิณ" ไทยจะทำอย่างไรต่อไป ยอมเสียเพื่อนบ้านและโทษเป็นความผิดทักษิณ หรือว่าจะโทษความเขลาของรัฐบาลเองที่แต่งตั้งนายกษิต ภรมย์ "ผู้ก่อการร้ายในสายตาชาวโลก" ซ้ำยังขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ด่าว่าสมเด็ตจฮุนเซนสาดเสียเทเสีย จึงพาให้ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศอยู่ในสภาพย่ำแย่ประชาชนเดือดร้อนอย่างที่เห็น
รัฐบาลคิดบ้างหรือไม่ว่า หากภาพที่ "นายกษิต ภิรมย์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ขึ้นเวทีด่าว่าผู้นำต่างชาติโดยไม่คำนึงถึงมารยาท เผยแพร่ไปสู่สายตาผู้นำประเทศต่างๆ เขาจะคิดว่าใครคือชนวนแห่งความขัดแย้ง? และหากมีภาพคนของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม หรือเป็นแกนนำร่วมด้วยช่วยกันกับนายกษิตและบรรดาสาวกพันธมิตรฯ เขาจะคิดเช่นไร? และ จะเกิดอะไรขึ้น?
ขอเตือนด้วยความเคารพและห่วงใยประเทศชาติ
หากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเห็นภาพเหล่านั้น พวกเขาจะเห็นรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ชอบธรรมอยู่หรือไม่? หรือมองว่าไทยรังแกประเทศที่ด้อยกว่า? จึงแต่งตั้งรัฐมนตรีปากกล้า หยาบหยามผู้นำประเทศเพื่อนบ้านและก้าวก่ายการบริหารจัดการภายในของกัมพูชา? หรืออาจจะมองว่าประเทศไทยไม่มีความจริงใจกับกัมพูชา ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง? กลายเป็นว่ารัฐบาลชุดนี้คบไม่ได้ในสายตานานาชาติ
หากเป็นเช่นนั้นจริง เพื่อนสมาชิกอาเซียนจะหันไปช่วยเหลือประเทศใดระหว่างไทยกับกัมพูชา?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น