วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ขุมทรัพย์ "ทักษิณ" และ "ตุลาการภิวัฒน์


หลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดย ได้การแต่งตั้งองค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตชาติแห่ง (ป.ป.ช) คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ค.ต.ส.) ขึ้นมาเพื่อปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น

นับแต่มีการยึดอำนาจครั้งนั้นกระบวนการยุติธรรมได้ถูกกยกระดับให้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น หรือที่หลายฝ่ายเรีกยว่า “ตุลาการภิวัฒน์”

การที่กระบวนการยุติธรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือทำให้บรรดานักการเมืองเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด ส่วนข้อเสีย กระบวนการยุติธรรมอาจเสื่อมหมดความน่าเชื่อถือในสายตาประชาชนและเวทีโลกหากมีการแทรกแซงองค์กรอิสระ เหมือนที่ คมช.เคยใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจจากรัฐบาล “ทักษิณ”

การบริหารบ้านเมืองตามหลักทฤษฎีว่าด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย อำนาจนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร ต้องมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน นั่นหมายถึงสามารถตรวจสอบกันได้ แต่หลังจากมีการยึดอำนาจ ฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างสูง สามารถชี้เป็นชี้ตายหลายคดีของฝ่ายบริหาร ทั้งคดียุบพรรคไทยรักไทย มีการตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองย้อนหลัง 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ คมช.กำหนดขึ้น

หลังจากนั้นก็ยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ยังมีคดีนายสมัคร สุนทรเวช คดีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ตกเก้าอี้นายกรัฐมนตรีด้วยฝีมือ “ตุลาการภิวัฒน์” ทั้งสิ้น

ล่าสุดต้นปี 2553 จะมีการตัดสินคดีใหญ่อีกหนึ่งคดี นั่นคือ “ยึดทรัพย์อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร" นายกฯ คนที่ 23 ของไทย นายกรัฐมนตรีท่านนี้มีข่าวการถูกลอบสังหารหลายครั้งในขณะดำรงตำแหน่ง ไม่ทราบข้อเท็จจริงเป็นประการใด แต่เพิ่งมีการนำมาเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้

ครั้งแรกได้มีการสั่งการให้ยิงอาวุธหนักเข้าไปในบ้าน “ทักษิณ” แต่ผู้ร่วมวางแผนเห็นว่าหนักและรุนแรงเกินไป เนื่องจากเป็นการสังหารภรรยา ลูกๆ และคนในบ้านซึ่งไม่เกี่ยวข้องด้วย จึงเปลี่ยนมาเป็นใช้ปืน Snapper ยิงแทน แต่ไม่สำเร็จเนื่องจาก “ทักษิณ” เปลี่ยนเส้นทาง

ครั้งที่สองมีการวางแผนลอบสังหารงที่ท้องสนามหลวง แต่ “ทักษิณ” ขึ้นเวทีปราศรัยเร็วกว่าเวลาที่กำหนด ผู้ปฏิการเตรียมตัวไม่ทัน แผนการณ์จึงล้มเหลว

ครั้งที่สามที่ทางเข้าออกสนามบิน ช่วงที่ "ทักษิณ" กลับจากต่างประเทศ แต่สายข่าวรายงานให้ทราบล่วงหน้าจึงมีการเปลี่ยนเส้นทางได้ทันท่วงที ครั้งหลังสุดก็กรณีคาร์บอมม์หรือคาร์บ๊องซึ่งเป็นข่าวเกรียวกราวอยู่พักใหญ่
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ศาลนัดไต่สวน นายกล้านรงค์ จันทิก กับ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และล่าสุดจะมีการนัดสอบพยานคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านเพิ่มอีกในวันที่ 12 และ 14 มกราคม 2553

เรื่องนี้ "กลุ่มคนเสื้อแดง" ขึ้นเวทีปราศรัยในหลายเวทีทั่วทุกภาคว่า "มีการตั้งธงไว้แล้วล่วงหน้า" เนื่องจากรัฐบาลคิดว่า หาก "ทักษิณ" ถูกยึดทรัพย์กลุ่มคนเสื้อแดงจะหยุดการเคลื่อนไหว เหตุเพราะขาดท่อน้ำเลี้ยง

ผู้เขียนขอย้อนอดีตก่อนการซื้อขายหุ้น ขณะนั้นมีข่าวออกมาหลายกระแสว่า จุดประสงค์ในการขายหุ้นของกลุ่มชินฯ เจตนาเพื่อพยายามให้ครอบครัวของตนปลอดจากธุรกิจให้มากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกโจมตีจากกลุ่มคนที่ต้องการโค่นล้ม”ทักษิณ” ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่กลับถูกกล่าวหาว่า “เป็นการขายสมบัติชาติ”

และการขายหุ้นที่ “ครอบครัวชินวัตรเป็นเจ้าของสัมปทาน” สิทธิในธุรกิจโทรศัพท์มือถือและสัมปทานสิทธิในดาวเทียมหลายฝ่ายมองส่าไม่ใช่ “สมบัติชาติ”

แต่เมื่อมีการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามว่าการขายหุ้นของกลุ่มชินวัตร ซึ่งตามกฎหมายไม่ต้องเสียภาษี แต่กลับถูกกล่าวหาว่าขายหุ้นเป็นเงินถึง 76,000 ล้านบาท ไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว ถือเป็นการสร้างกระแสโทสะเกลียดชังให้กับประชาชน

แต่การจ่ายภาษีส่วนบุคคลของครอบครัว “ชินวัตร” กว่าสามพันล้านบาท และการจ่ายภาษีจากการทำธุรกิจของกลุ่มชินฯ ซึ่งถ้ารวมค่าสัมปทานด้วยแล้ว เป็นเงินกว่าสองแสนล้านบาทถูกปิดบังเงียบ ไม่เคยมีการกล่าวถึงร่วมด้วย หากจะมองเจตนาผู้พูด หลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นการสร้างภาพบิดเบือนให้เข้าใจผิดว่า “เป็นการทำธุรกิจที่ไม่ได้จ่ายภาษีเลย”

การซื้อขายหุ้นหลายฝ่ายน่าจะเคยมีประสบการณ์มาแล้ว ทั้งกลุ่มผู้ร่วมกล่าวหาและอาจมีสื่อบางท่านรวมอยู่ด้วย น่าจะลองกลับไปดูว่า “ตัวท่านเองจ่ายภาษีขายหุ้นหรือไม่”

มีคำถามตามมาอีกว่าหาก “ทักษิณ” ถูกยึกทรัพย์ ใครจะมีส่วนได้เงินสินบนหรือเงินรางวัลนำจับ และได้เท่าไหร่ จากขุมทรัพย์ "ทักษิณ" แว่วมาอีกว่าหลังการยึดอำนาจ มีการออกระเบียบค่าสินบน 25 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินที่ยึดมาได้

เรื่องการตัดสินคดีความ จะยึดหรือไม่ยึดก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่โปรดอย่าลืมว่า ก่อนหน้าที่ “ทักษิณ” จะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินของครอบครัวไว้กับ ปปช.แว่วมาว่ามีมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท และก่อนหน้านั้นในปี 2543 นิตยสารฟอร์บส ได้จัดลำดับเศรษฐีโลก “ทักษิณ” ติดอันดับ ด้วยทรัพย์สินที่ตีมูลค่าจากหุ้นรวม 54,000 ล้านบาท

หากจะมีใครลองคำนวณมูลค่าหุ้นครอบครัวชินวัตร โดยเริ่มจากบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อ ปชป. ก่อน “ทักษิณ” เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่ากันตามมูลค่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กระทั่งถึงวันซื้อขายหุ้น ว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ แล้วนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อยืนยันอีกสักครั้งก็น่าจะดีไม่น้อย ร่ายยาวแบบหนัง "ย้อนเวลาหาอดีต"

ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า “มีการทุจริตเชิงนโยบาย” หากในช่วงทำนิติกรรมซื้อขาย หุ้นของตระกูลชินวัตรขึ้นผิดปกติหรือขึ้นอยู่บริษัทเดียว ในขณะที่กิจการในลักษณะเดียวกันมูลค่าหุ้นคงเดิม เพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ กระบวนการยุติธรรมก็น่าจะนำประเด็นนี้มาพิจารณาด้วยเช่นกัน

จากคำพูดของหลายฝ่ายรวมทั้งข้ออ้างที่ คมช.ใช้ยึดอำนาจว่า “มีการทุจริตเชิงนโยบาย” ผู้เขียนเป็นงง เข้าใจว่าคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนรากหญ้าที่ถูกตราหน้าว่าไร้การศึกษา ซื้อสิทธิ์-ขายเสียง ก็คงงงยกกำลังสองเช่นกัน แล้วยิ่งต่างชาติฟังแล้วเป็นเง็ง งงไปอีกแปดตลบ เนื่องจากการกระทำในลักษณะนี้ต่างประเทศไม่มีกฏหมายรองรับ

และในประเทศไทยเอง กว่าจะตรวจสอบพบ ก็ต้องมีการยึดอำนาจ 19 กันยา 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นกระบวนการยุติธรรมปกติที่ใช้กันมานาน ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ตรวจสอบความผิดลักษณะนี้ไม่พบใช่หรือไม่ คมช. จึงต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบคดี “ทักษิณ” โดยเฉพาะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น