วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 309 เพื่อปวงชนชาวไทยหรือเพื่อใคร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550


มาตรา 309 บัญญัติว่า “บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายเเละรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นเเละการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”

สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)


1. องคมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้ง
1.1 มีจำนวนไม่เกิน 19 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และองคมนตรีอีกไม่เกิน18 คน
1.2 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ประธานองคมนตรี และประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี


2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
2.1 มีจำนวนไม่เกิน 250 คน เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
2.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2.3 องค์ประชุมสภาต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
(ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 125 คน)
2.4 สมาชิกไม่น้อยกว่า 25 คน หรือคณะรัฐมนตรี มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติได้
2.5 สมาชิกไม่น้อยกว่า 20 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภา
เพื่อให้สมาชิกอื่นพ้นจากตำแหน่ง โดยอาศัยมติของสภาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในวันลงคะแนน
2.6 สมาชิกไม่น้อยกว่า 100 คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อ
ซักถามคณะรัฐมนตรีได้ แต่ไม่สามารถลงมติได้
2.7 นายกรัฐมนตรี มีสิทธิแจ้งไปยังประธานสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไป
เกี่ยวกับปัญหาสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ไม่สามารถลงมติได้

3. คณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
3.1 คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน
3.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

แต่งตั้งและให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
3.3 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรี

พ้นจากตำแหน่ง

4. สมัชชาแห่งชาติ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
4.1 มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
4.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
4.3 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ
4.4 สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 200 คน
ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่การเปิดประชุมครั้งแรก แล้วเสนอให้คณะมนตรี
ความมั่นคงแห่งชาติ คัดเลือกให้เหลือ 100 คน เพื่อให้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้ง
เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

5. สภาร่างรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
5.1 มีจำนวน 100 คน คัดเลือกมาจากสมัชชาแห่งชาติ
5.2 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
5.3 มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันเปิด

ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
5.4 ร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จแล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้

มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยต้องจัดให้มีการออก
เสียงประชามติในช่วงวันที่ 15-30 นับจากวันเผยแพร่และวันออกเสียงประชามติ
ต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ
5.5 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ

ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 1 คณะ ประกอบด้วยบุคคลที่สภาเลือกจำนวน 25 คน
และอีก 10 คนตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
5.6 เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัด

ทำคำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ในเรื่องใด
พร้อมเหตุผลในการแก้ไขไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร และคณะบุคคล
(รวม 12 องค์กรตามมาตรา 26) เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น นอกจากนี้ให้
เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารคำชี้แจงให้ประชาชนทั่วไปทราบ รวมทั้ง

ส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนประกอบด้วย
5.7 ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีการเลือกตั้งให้
แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
แล้วเสร็จ ต่อจากนั้นให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จ
ภายใน 45 วัน
5.8 ห้ามกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
5.9 ในการออกเสียงประชามติ หากเสียงข้างมากเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญมา
ใช้บังคับให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าเพื่อ
ทรงลงพระปรมาภิไธย
5.10 กรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน
หรือสภาร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญตามที่คณะกรรมาธิการยกร่าง
ธรรมนูญเสนอ หรือเสียงข้างมากของการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้
ร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง
5.11 เมื่อมีกรณีตามข้อ 5.9 ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุมร่วมกับ

คณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งที่เคยใช้บังคับมาแล้ว
มาปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ
โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับ สนองพระบรมราชโองการ
5.12 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง

6. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
6.1 มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ
6.2 ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 โดย

ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อาจแต่งตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ เพิ่มขึ้น ได้อีกไม่เกิน 15 คน

7. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
7.1 ปฏิบัติหน้าที่ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 19

กันยายน 2549 โดยให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ทางธุรการ
7.2 ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็น

รองประธาน ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 5 คน
และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
จำนวน 2 คน ประกอบเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ........................

ให้ไว้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ข้อมูลจาก สนุกพีเดีย


บทวิเคราะห์

ข้อความในรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ไม่น่าจะมีอะไรผิดปกติ หากไม่มีข้อความที่ว่า
".........รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศ
ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้้"

เนื่องจากเนื้อหาข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีการสอดไส้ "นิรโทษษกรรม"
ผู้ที่ทำการปฏิวัติยึดอำนาจไปจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต

นั่นหมายความว่าหากบุคคล หรือองค์กรเหล่านั้นกระทำความผิด ใส่ร้ายป้ายสี
โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน ห้ามมิให้ผู้เสียหายดำเนินดคีทั้งทางแพ่งและทางอาญา

คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัวรวมทั้งบรรดาบุคคลใกล้ชิดเผชิญ
นับตั้งแต่วันที่มีการปฏิวัติรัฐประหารมาจนถึงทุกวันนี้และอาจจะมีต่อไปในอนาคต

คนเสื้อแดงและผู้ที่มีใจเป็นกลางในสังคม เชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นถูกการเมืองกลั่นแกล้ง
อย่างไม่เป็นธรรม โดยไม่สามารถตอบโต้ฟ้องร้องเอาผิดผู้ที่กระทำการใดๆ ได้เลย

จากเหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ชัดเจนว่า หากรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ยังคงมีผล
บังคับใช้ในราชอาณาจักร จะยิ่งสร้างความอัปยศ เสื่อมเสีย แก่ระบอบการ
เมืองการปกครองภายในประเทศโดยไม่มีที่สิ้นสุด

เพราะนอกจากจะมีบุคคลบางกลุ่มลอยนวลอยู่เหนือเงื้อมือกฏหมายบ้านเมืองแล้ว
ยังมีบุคคลอีกกลุ่มที่ถูกเล่นงานอย่างไม่ยุติธรรมและไม่มีทางตอบโต้อีกด้วย..........

31 ความคิดเห็น:

  1. จริง

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ23 กันยายน 2553 เวลา 09:23

    เห็นได้ชัด

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ20 มีนาคม 2555 เวลา 22:29

    309 จงเจริญ......อย่าให้ "มัน" ได้ผุดได้เกิด

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ30 พฤษภาคม 2555 เวลา 15:49

    ไม่ต้องการไอ้นช.ทรราชทักษิณ ชินวัตร พ่อของไอ้พวกควายเสื้อแดงว่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ31 พฤษภาคม 2555 เวลา 07:37

    ไม่เห็นด้วยวางแผนให้พี่ชายได้กลับบ้านเมืองเราไมเห็นด้วยกับพวกขายชาติบ้านเมือง

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:22

    เห็นด้วย ที่รู้แน่ คือ มาตรานี้ ทำเพื่อตัวเองและพวกตัวเองกินบ้านกินเมืองโกงกันไปเท่าไหร่ นับค่าไม่ได้ ไม่เห็นเอาผิดสักคน 5-6ปีมานี้ ขับทักษิณ ออกนอกประเทศ ตั้งพวกตัวเองเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ มา 2สมัย (รัฐาลขิงแก่ กับรัฐบาลเด็ก 2 สัญชาติ)กินกันจนจุกท้องระเบิดก็ ยังไม่พอ ไม่มีการตรวจสอบ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ15 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:37

    เห็นด้วยอย่างยิ่ง หลังรัฐประหารตั้งรัฐบาลเป็นพวกตัวเอง คือรัฐบาล ขิงแก่ กับรัฐบาล เด็ก 2 สัญชาติ ไม่ได้สร้างความเจริญให้กับประเทศ เข้ามาโกงกินกัน โดยไม่มีการตรวจสอบ แล้วโทษแต่ทักษิณ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:14

    เห็นด้วยกับทุกความคิดเห็นแต่ควรยุบสานทำนูนด้วย

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2555 เวลา 19:55

    จะแก้ไข ทำไมรัฐธรรมนูญ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อนดีไหม อะไรๆก็แพง น้ำมันก็ขึ้นทุกๆเดือน ไหนจะตกงาน ไหนจะลุ้นอีกว่าน้ำจะท่วมอีกไหม แก้ไขแล้วประชาชนได้อะไร ไม่แก้ไขแล้วประชาชนจะได้อะไร ประชาชนยอดหญ้าอย่างเราๆ ท่านๆ ผู้มีอำนาจปกครองชนกันแต่ละที พวกเราต่างหาก ตาย บาดเจ็บ.

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2555 เวลา 23:28

      มึงจะแก้ยังไง เพราะ รธน.50 มันบอกว่าถ้านายก รมต จะทำอะไรต้องผ่านการประชุมสภาก่อน แล้วแม่่่งกว่าจะได้ประชุม เกือบปี แล้วประชุมที ส.ส แม่งก็มาไม่ครบ ไม่ต้องทำ่าไรแล้ว

      ลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ16 ธันวาคม 2555 เวลา 05:18

    ที่เลวสุด น่มจะชุดปัจจุบัน

    ตอบลบ
  11. แล้วจะแก้เพื่ออะไร...ไม่ใช่เพื่อจะเอาผิดผู้ที่ทำการปฏิวัติหรอกอ่ะ..จะยกเลิกหมดเพื่อที่ให้ตัวเองพ้นผิด แล้วเอาเงินคืนด้วย...ถ้าแน่จริงก่อนจะแก้มาตรานี้ ทำไมตัวเองไม่ยอมมารับโทษก่อนอ่ะ เมื่อมารับโทษเสร็จ มาสู้คดีเสร็จ ศาลตัดสินอย่างไรก็ว่าไปตามหลักฐาน แล้วก็มายกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก็ได้...ไม่ใช่มายกเลิกทั้งหมดโดยที่ตัวเองไม่ได้ดำเนินคดีต่างๆไปตามกฎหมาย...(ทำทุเรศมาก ประเทศนี้ไม่ใช่ของมันคนเดียวอ่ะ ถ้ามันอยากทำอย่างนี้ไปทำที่มอนโตเนโกเถอะ แล้วเอาพวกมันไปด้วยลิ้วล้อทั้งหลาย ประเทศนี้ประเทศของพ่อ พ่อเกิดมาก่อนพวกมึงอีก....)

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ17 ธันวาคม 2555 เวลา 08:23

    แก้ปัญหาปากท้องก่อนเถอะครับ เห็นพูดมานานแล้วอ่ะ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันซักที!!!

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ18 ธันวาคม 2555 เวลา 01:37

    การแก้ไขมาตรานี้ไม่เห็นมีส่วนใดๆ ที่มีการนิรโทษ ทักษิณเลย แม้แต่นิดเดียว
    ทำไมมันถึงออกมาโกหกกันหน้าด้านๆได้ แปลกดี
    ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรนำ มาตรานี้ แสดงให้ประชาชนอ่านกันอย่างกว้างขวาง ให้วิเคราะห์วิจารย์อย่างกว้างขวาง ปชช.จะได้รู้ว่าไอ้พวก ที่มันไม่ให้แก้โดยอ้างทักษิณ แม่งโกหกหรอกประชาชน
    สรุป ที่มันไม่ให้แก้ไม่เรื่องเดียวคือ รักษาอำนาจเอาไว้ให้กระทำใดๆกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้โดยไม่ต้องรับผิดเลย (เสนอทางกฏหมายเอาผิดพวกมันไม่ได้ ต้องปชช.เท่านั้นที่ทำได้)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ23 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:22

      แก้มาตรานี้ได้รับรองตายหมู่555+

      ลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2555 เวลา 00:26

    ทุกครั้งที่จะมีการแก้ไขกฎหมายจะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยแลพไม่เห็นด้วยอยู่เสมอ และก็จะโยนมาที่ประชาชาว่าต้องถามประชาชนก่อนว่าจะยอมรับหรือไม่ทำอย่างไรล่ะถึงจะทราบว่าประชาชนจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็มีตัวแทนของประชาชนอยู่ในสภาตั้ง 500 ร้อยกว่าคนแล้วมิใช่หรือเลือกตั้งไปเสียเงินไปในแต่ละครั้งมิใช่น้อยๆ แต่ทำหน้าที่ของตนเองมิได้น่าอายจัง มี ส.ส.และผู้นำหลายท่านเคยบอกว่าถ้าจะให้ประชาชนยอมรับก็ต้องทำประชาวิจารณ์ หรือลงประชามติว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยให้เอาคะแนนเสียงของประชานส่วนใหญ่ตัดสินดีกว่า แต่มาวันนี้บอกว่าไม่ได้ไม่เอา แล้วจุดยืนของท่านอยู่ที่ไหนกัน อะไรคือประชาธิปไตย์ของนักการเมืองไทย เห็นการเลือกตั้งของต้างประเทศ เขาต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่พอผลการเลือตั้งออกมา ฝ่ายที่พ่ายแพ้ก็ออกมายอมรับผลการตัดสินจากคะแนนเสียงของประชาชนเป็นเด็ดขาด และยังสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามที่ชนะการเลือกตั้งอีกด้วย ดีจัง แต่บ้านเมืองเราอ้างแต่ประชาธิปไตย์แต่การปฏิบัติไม่เป็นประชาธิปไตย์เลย

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2555 เวลา 00:56

    คนเสื้อแดงและผู้ที่มีใจเป็นกลางในสังคม เชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นถูกการเมืองกลั่นแกล้ง คิดเองเองตลอด คือประมาณหนูถูกกลั้นแกล้ง ถ้าคุณมั้นใจว่าไม่ผิดคุณจะหนีทำไมครับ

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2555 เวลา 01:04

    ผลของการยกเลิกมาตรา 309 อาจทำให้บรรดาผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือถูกลงโทษทางการเมืองในช่วงที่ใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ร้องต่อศาลว่าคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป อันอาจส่งผลให้การตรวจสอบหรือการกระทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ไม่ชอบด้วย คดีทั้งปวงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว อาจถูกระงับโดยไม่ต้องดำเนินการต่อ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าตามประเพณีที่ผ่านมา ศาลยอมรับบรรดาคำสั่งของคณะปฏิวัติรัฐประหารให้เป็นกฎหมายใช้บังคับ มีศักดิ์ศรีเทียบเท่าพระราชบัญญัติ จึงต้องยกเลิกโดยรัฐสภา

    ตอบลบ
  17. ถ้าทุกคนรู้จักสิทธิและหน้าที่พลเมืองไทยที่ดีไม่แสวงหาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ก็ไม่ต้องมาแก้โน่นแก้นี้ให้ประเทศชาติเสียหาย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ23 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:29

      ประเทศไทยทำรัฐประหารมา17ครั้ง คนทำรัฐประหารรอดหมดไม่มีติดคุก มาครั้งนี้พวกที่ทำรัฐประหารเลยออกมาต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้กันให้ขาขวิดเพราะอัลไลล่ะ

      ลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2555 เวลา 21:06

    เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้มาจากพวกรัฐประหาร 49 ถึงได้วุ่นวายอย่างนี้ และจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานเท่าไหร่ก็ไม่มีใครตอบได้

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ23 ธันวาคม 2555 เวลา 06:15

    ก่อนแก้ ควรเอาเรื่องปากท้องประชาชนให้รอดก่อนเถอะจะตายอยู่แล้ว ค่าไฟ น้ำมัน แก๊ส ผัก ปลา แพงไปหมด เฮ้อ แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วข้าวของพวกนี้ถูกลงมั๊ย ???

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ23 ธันวาคม 2555 เวลา 06:18

      เห็นด้วยครับ พวกเรามนุษย์เงินเดือน กำลังหน้าเหลืองแล้ว ใกล้สิ้นเดือน เหมือนสิ้นโลก

      ลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ11 มกราคม 2556 เวลา 05:23

    15000 ป.ตรี รออยู่เนี่ยเมื่อไหร่จะได้ฮะไอ้โกหก. 300 บาทขึ้นมาของยังแพงขนาดนี้ ถ้า ป.ตรีขึ้น 15000 ได้ซดโบราณเย็นแก้ว 50 แน่

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ8 พฤษภาคม 2556 เวลา 01:30

    ประชาชนรู้จริงไหม ไปเย้วๆ นะ

    ตอบลบ
  22. ไม่ระบุชื่อ23 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:25

    แก้เสร็จตายหมู่555+

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ30 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:36

    ตีความกันผิดๆ เข้าใจผิดกันไปหมด เพราะมาตรา 309 บัญญัติว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายเเละรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นเเละการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
    คำว่า ชอบ หมายถึงชอบ ก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว;
    เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก,
    บางทีใช้หมายความไปในเชิงว่ารักใคร่ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน;
    มีสิทธิ์ เช่น ชอบที่จะทําได้
    ดังนั้นคำว่าชอบ จึงหมายถึง พอใจ ถูกใจ
    ไม่ได้หมายถึงกระทำสิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิด
    ดังนั้นการกระที่ผิดจึงไม่ใช่พอใจหรือถูกใจ เพราะเขียนไม่เหมือนกัน ความหมายก็ไม่เหมือนกัน (ชอบเขียนไม่เหมือนพอใจ ถูกใจ) ดังนั้นมาตรา309 ไม่คุ้มครองการกระทำที่ผิด การกระทำที่ผิดต้องรับโทษตามกฏหมายที่มีอยู่

    ตอบลบ
  24. ยังนี้แหละนักกฎหมายไทยชอบที่จะตีความตามตัวอักษร
    ทีั้งที่สมัยก่อนประเทศเราก็อาศัยขนบธรรมเนียมมายึดหลักใน
    การตัดสินการตีวความตามตัวอักษรทำให้คนร้องให้ก็เยอะ
    ดีใจก็แยะ......ทำใมไม่ให้หลักความยุติธรรมจริงๆมาตัด
    สินล่ะประทศจะได้สงบสุขชะที่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การที่กล่าวว่านักกฎหมายตีความตามตัวอักษร เพราะประเทศไทยมีระบบกฎหมายแบบcivil law ทุกอย่างตัดสินตามข้อความในประมวลกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะมีกฎหมายไปเพื่ออะไร

      ลบ
  25. เราจะมาเถียงกานทามมัย ท่านๆทั้งหลายที่เค้ามีอำนาจเค้าก้อสู้กันเพื่อผลประโยชน์ของเขา ปชช.ตาดำๆอย่างเราๆก้อเป็นได้แค่เบี้ยที่เดินตามหมากของเขา

    ตอบลบ